วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลก


ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลก
    โดยทั่วไปลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลกจะมีความแตกต่างกัน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยการควบคุมหลายอย่าง เช่น  ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ  ลักษณะและสภาพดิน  เป็นต้น  โดยจะมีการจำแนกเขตพืชพรรณธรรมชาติของโลก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-เขตทุ่งน้ำแข็ง เป็นเขตที่ไม่มีพืชชนิดใดขึ้น เนื่องจากมีอากาศหนาวเย็น มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี  ได้แก่ ขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้  และเกาะกรีนแลนด์

-เขตภูเขาสูงและทุนดรา ซึ่งจะมีพืชพรรณธรรมชาติที่พบ เช่น  มอส  สาหร่าย  ตะไคร่น้ำ  และไลเคน  เป็นพืชที่สามารถพบได้ในบริเวณที่มีอากาศหนาวจัดๆ มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดเวลา ส่วนฤดูร้อนจะมีระยะเวลาสั้น  ได้แก่  ภูเขาสูง เช่น  เทือกเขาแอนดีส  เทือกเขาหิมาลัย   บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก  และเกาะกรีนแลนด์ เป็นต้น
-เขตป่าสนตอนเหนือหรือป่าไทกา  โดยจะมีพืชพรรณธรรมชาติที่พบ  ได้แก่  ป่าสน  และป่าไทกา ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในเขตที่มีละติจูดสูงในฤดูหนาว หรือมีอากาศหนาวจัดและยาวนาน  ส่วนฤดูร้อนจะมีระยะเวลาสั้น มีอุณหภูมิไม่สูงมากนัก  ส่วนพื้นดินในฤดูหนาวนั้นจะปกคลุมไปด้วยหิมะ และจะมีน้ำค้างแข็งฝังตัวอยู่ในดิน
-เขตป่าเขตอบอุ่น พืชพรรณธรรมชาติที่พบในเขตนี้  ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตละติจูดกลางอยู่ใต้แนวเขตป่าสน เพราะจะกระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ
-เขตป่าเขตร้อน  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบและป่าไม้ผลัดใบ  ซึ่งประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด แต่จะพบได้มากในบริเวณเส้นศูนย์สูตร  เพราะจะมีอุณหภูมิสูงตลอดปีและจะมีฝนตกชุก
-เขตทุ่งหญ้าอบอุ่น โดยพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้พุ่มเตี้ย และทุ่งหญ้าสั้น  ซึ่งจะพบในบริเวณที่มีฝนตกไม่มาก และไม่แห้งจนถึงกับเป็นทะเลทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในละติจูดกลาง  หรือในเขตทุ่งหญ้าอบอุ่นที่สำคัญ
-เขตทุ่งหญ้าเขตร้อน  หรือทุ่งหญ้าสะวันนา  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นทุ่งหญ้าและพืชทนแล้ง โดยจะพบในบริเวณที่มีฝนตกชุก ในฤดูร้อน และอากาศแห้งแล้งในฤดูหนาว
-เขตทะเลทราย  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติที่พบในเขตนี้  ส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่สามารถเก็บน้ำไว้ในลำต้นได้มาก จึงมีส่วนที่ช่วยป้องกันการระเหย
ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ
เนื่องจากเอเชียเป็นทวีปใหญ่ มีดินแดนตั้งแต่ขั้วโลกเหนือลงไปจนถึงใต้เส้นศูนย์สูตร ทำให้มีลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย ดังนี้


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย ได้แก่
1.            ที่ตั้ง ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ คือ จากศูนย์สูตรถึงขั้วโลกทำให้ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิอากาศทุกชนิด ตั้งแต่เขตร้อนถึงเขตหนาวเย็นแบบขั้วโลก
2.            ขนาด เอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดกว้างใหญ่มาก โดยมีเส้นศูนย์สูตร เส้นทรอปิกออฟเคนเซอร์และเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลลากผ่าน ลักษณะเช่นนี้แสดงว่าทวีปเอเชียมีทั้งอากาศร้อน อบอุ่น และหนาว
3.            ความใกล้-ไกลทะเล ทวีปเอเชียมีดินแดนบางส่วนที่อยู่ติดชายทะเล จึงได้รับอิทธิพลจากทะเลแต่มีดินแดนภายในบางแห่งที่อยู่ห่างไกลจากพื้นน้ำมาก ทำให้อิทธิพลของพื้นน้ำไม่สามารถเข้าไปถึงภายในทวีปได้อย่างทั่วถึง ภายในทวีปจึงมีอากาศรุนแรง คือ ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด และฤดูหนาวอากาศหนาวจัดขณะที่บริเวณชายฝั่งทะเลมีอากาศไม่แตกต่างกันมากนักระหว่างกลางวันกลางคืน และระหว่างฤดูกาลต่าง ๆ
4.            ความสูงต่ำของพื้นที่ ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศสูงต่ำแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้มีลักษณะอากาศแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในเขตละติจูดเดียวกัน เช่น เขตที่ราบที่เมืองเดลี อยู่ที่ละติจูด 28 องศาเหนือ ไม่เคยมีหิมะเลย แต่ที่ยอดเขาดัวลากีรี ซึ่งสูง 8,172 เมตร (26,810 ฟุต) ซึ่งอยู่ในละติจูดเดียวกันกลับมีหิมะและน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี
5.            ลมประจำที่พัดผ่าน มีลมประจำหลายชนิดพัดผ่านทวีปเอเชีย ได้แก่
- ลมประจำฤดู เช่น ลมมรสุม ซึ่งมีอิทธิพลต่อทวีปเอเชียมาก เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศเหนือพื้นทวีปทางซีกโลกเหนือและพื้นมหาสมุทรทางซีกโลกใต้
- พายุหมุน เช่น ลมใต้ฝุ่น ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุไซโคลน ที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น
6.            กระแสน้ำ มีน้ำเย็นโอยาชิโว ไหลผ่านชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศ มีกระแสน้ำอุ่นกุโรชิโวไหลผ่าน อิทธิพลของกระแสน้ำทั้งสองนี้ ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นมีอากาศอบอุ่นกว่าชายฝั่งตะวันตก
 เขตภูมิอากาศ
จากปัจจัยต่างๆดังกล่าว ทำให้ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิอากาศที่แตกต่างกันมาก ซึ่งจำแนกได้11เขตดังนี้ 

1.ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น 

เขตอากาศแบบป่าดิบชื้นอยู่ระหว่างละติจูด 10 องศาเหนือ ถึง10องศาใต้ ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนไม่มากนักมีปริมาณฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร(80 นิ้ว) ต่อปี และมีฝนตกตลอดปี 

พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ ซึ่งไม่มีฤดูที่ผลัดใบและมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ส่วนบริเวณปากแม่น้ำและชายฝั่งทะเลมีพืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าชายเลน 

2.ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน 

เขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนหรือร้อนชื้นแถบมรสุม เป็นดินแดนที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกันประมาณปีละ 6 เดือน ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอินเดีย และคาบสมุทรอินโดจีน เขตนี้เป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ปริมาณน้ำฝนจะสูงในบริเวณด้านต้นลมและมีฝนตกน้อยในด้านปลายลมหรือที่เรียกว่า เขตเงาฝน 

พืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้เป็นป่ามรสุมหรือป่าไม้ผลัดใบในเขตร้อน พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นใบไม้กว้างและเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีค่าในทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้จันทร์ ไม้ประดู่ เป็นต้น ป่ามรสุมมีลักษณะเป็นป่าโปร่งมากกว่าป่าไม้ในเขตร้อนชื้น ซึ่งบางแห่งอาจมีไม้ขนาดเล็กขึ้นปกคลุมบริเวณพื้นดินชั้นล่าง และบางแห่งมีป่าไผ่หรือหญ้าขึ้นปะปนอยู่ด้วย 
3.ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน 

เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน มีลักษณะอากาศคล้ายกับเขตมรสุม คือ มีฤดูหนึ่งที่แห้งแล้งกับฤดูหนึ่งที่มีฝนตก แต่มีปริมาณฝนน้อยกว่า คือ ประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร (40-60 นิ้ว)อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนเย็นกว่ากลางวัน ได้แก่ บริเวณตอนกลางของอินเดีย พม่า และคาบสมุทรอินโดจีน 

พืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ เป็นป่าโปร่งแบบป่าเบญจพรรณ ถัดเข้าไปตอนใน จะเป็นทุ่งหญ้าสูงตั้งแต่ 60-360 เซนติเมตร ซึ่งจะงอกงามดีในฤดูฝน แต่แห้งแล้งเฉาตายในฤดูหนาว เพราะช่วงนี้มีอากาศแห้งแล้ง 

4.ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น 

เขตมรสุมอบอุ่นเป็นบริเวณที่อยู่ในเขตอบอุ่น แต่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม มีฝนตกในฤดูร้อนฤดูหนาวค่อนข้างหนาว ได้แก่ ภาคตะวันออกของจีน ภาคใต้ของญี่ปุน คาบสมุทรเกาหลี ฮ่องกง ตอนเหนือของอินเดีย ในลาว และตอนเหนือของเวียดนาม 

พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นประเภทไม้ผลัดใบหรือป่าไม้ผสม กล่าวคือ มีทั้งไม้ใบใหญ่ที่ผลัดใบ และไม้สนที่ไม่ผลัดใบ ปัจจุบันป่าไม้เหล่านี้ถูกโค่นทำลายลงไปมากเพื่อใช้เป็นที่เพาะปลูก เช่น ในประเทศจีนและเกาหลีทางใต้ของเขตนี้เป็นป่าไม้ผลัดใบ ส่วนทางเหนือที่มีอากาศหนาวกว่าเป็นป่าไม้ผสมและป่าไม้ผลัดใบเช่น ต้นโอ๊ก เมเปิล และถ้าขึ้นไปทางเหนือที่มีอากาศหนาว พืชพันธุ์ธรรมชาติจะเป็นไม้สนที่มีใบเขียวตลอดปี 

5.ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป 

เขตอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ได้แก่ บริเวณทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เกาหลีเหนือ ภาคเหนือของญี่ปุ่น และตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย มีฤดูร้อนที่อากาศร้อน เพราะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันยาวกว่ากลางคืนปีละ 5-6เดือน เป็นเขตที่ปลูกข้าวโพดได้ดี เพราะมีฝนตกในฤดูร้อน ประมาณ750-1,000มิลลิเมตร (30-40นิ้ว)ต่อปี ฤดูหนาวอากาศหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยถึง –7องศาเซลเซียส (18 องศาฟาเรนไฮต์)เป็นเขตที่ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิมีมาก 

พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าผสมระหว่างป่าไม้ผลัดใบและป่าสน ลึกเข้าไปเป็นทุ่งหญ้า สามารถเพาะปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี และเลี้ยงสัตว์พวกโคนมได้ ส่วนแถบชายฝั่งทะเลมีการทำป่าไม้เล็กน้อย 

6.ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น 

เป็นเขตที่มีความรุนแรง คือ มีอุณหภูมิสูงมากในฤดูร้อน และอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว มีฝนตกบ้างในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ได้แก่ บริเวณภาคตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ ตอนกลางของประเทศตุรกีตอนเหนือของภาคกลางของอิหร่าน ในมองโกเลีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน 

พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น ทุ่งหญ้าบริเวณดังกล่าวบางแห่งที่มีชลประทานเข้าถึงจะใช้เป็นที่เพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ฝ้ายและเลี้ยงสัตว์ได้ดี 

7.ภูมิอากาศแบบทะเลทราย 

เป็นเขตภูมิอากาศที่ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีมาก ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ภายใต้ทวีปหรือบริเวณที่มีภูเขาปิดล้อม ทำให้อิทธิพลของมหาสมุทรเข้าไปไม่ถึงมีปริมาณฝนน้อยกว่าปีละ 250 มิลลิเมตรสำหรับบริเวณทะเลทรายบริเวณที่มีน้ำและต้นไม้ขึ้นนั้นเรียกว่าโอเอซิสซึ่งมีพืชพันธุ์แบบทเลทราย เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร เป็นต้น พืชพันธุ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าสลับป่าโปร่งมีการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก 

8.ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน 

ภูมิอากาศฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฝนตกในฤดูหนาว ได้แก่ เลบานอล ซีเรีย เป็นต้น พืชพันธุ์ธรรมชาติ ได้แก่ ไม้ต้นเตี้ย ไม้หนาม ผลไม้ได้แก่ ส้ม องุ่น เป็นต้น 

9.ภูมิอากาศแบบไทกา 

ภูมิอากาศฤดูหนาวยาวนานที่สุด ฤดูร้อนมีระยะสั้นได้แก่ ภาคเหนือของไซบีเรีย พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าสน เป็นแนวยาวทางเหนือของทวีป เรียกว่า ไทกา 

10.ภูมิอากาศแบบทุนดรา 

ได้แก่ทางตอนเหนือสุดของทวีปเอเชีย บริเวณนี้มีฤดูหนาวยาวนานมากมีหิมะคลุมตลอดปี ไม่มีฤดูร้อน พืชพันธุ์ธรรมชาติ เช่น มอสส์ เป็นต้น 

11.ภูมิอากาศแบบสูง 

ในเขตที่สูงอุณหภูมิลดลงตามระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 1 องศาเซสเซียสต่อความสูง 180 เมตร มีหิมะปกคลุมทั้งปี
 

 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน

ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น