วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะภูมิประเทศของโลก


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ภูมิศาสตร์โลกและประเทศไทย
กลุ่มที่1
-ลักษณะภูมิประเทศของโลก หน้า 70
-ลักษณะภูมิอากาศของโลก หน้า 83
-ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลก หน้า 85

กลุ่มที่1 สมาชิก 6 คน

1. น.ส.กนกพร  ฉ่ำชื่น  เลขที่ 2  ชั้นม.5/5
2. น.ส.กัลยรัตน์  คเชนทร  เลขที่ 5  ชั้น ม.5/5
3. น.ส.ทักษพร   จันทร์สง  เลข ที่ 13  ชั้น ม.5/5
4. น.ส.พิสชา  ศรีเทพ เลขที่ 21  ชั้น ม.5/5
5. น.ส.รัตนา  ผันเผื่อน  เลขที่ 23  ชั้น ม.5/5
                           6. น.ส.วรรณพร  จันทร์เอี่ยม  เลขที่ 24 ชั้น ม.5/5

ลักษณะภูมิประเทศของโลก
 ภูมิประเทศของทวีปเอเชีย
ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ประมาณ 44 ล้านตารางกิโลเมตรเป็นทวีปที่มีพื้นที่กว้างที่สุดของโลก ตั้งอยู่ทางซีกตะวันออกของโลก ดินแดนเกือบทั้งหมดอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ยกเว้นบางส่วนของหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย ทวีปเอเชียมีขนาดกว้างใหญ่มาก ทำให้ตอนกลางของทวีปห่างจากมหาสมุทรมาก เป็นเหตุให้อิทธิพลของพื้นน้ำไม่สามารถแผ่เข้าไปได้ไกลถึงภายในทวีป ประกอบกับตอนกลางของทวีปมีเทือกเขาสูงขวางกั้นกำบังลมทะเลที่จะพัดเข้าสู่ภายในทวีป ทำให้บริเวณตั้งแต่ตะวันตกเฉียงใต้จนถึงตอนกลางของทวีปมีพื้นที่แห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปเอเชีย แบ่งออกได้ดังนี้
เขตเทือกเขาสูงตอนกลางทวีป เป็นเทือกเขาเกิดใหม่ เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลก มีความสูงมาก มีหลายเทือกเขา ซึ่งจุดรวมเรียกว่า ปามีร์นอต (Pamir Knot) หมายถึง หลังคาโลก (The Roof of the World) ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย มียอดเอเวอร์เรสต์ สูงที่สุดในโลก 8,848 เมตร และทอดตัวออกไปหลายทิศทาง ตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เช่น เทือกเขาคุนลุน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต ทางตะวันตก เช่น เทือกเขาฮินดูกูซ ส่วนทางใต้ เช่น เทือกเขาสุไลมาน
เขตที่ราบสูง บริเวณตอนกลางทวีปมีที่ราบสูงอยู่ระหว่างเทือกเขา เช่น ที่ราบสูงยูนนานและที่ราบสูงทิเบตในประเทศจีนเป็นที่ราบสูงมีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีเขตที่ราบสูงตอนใต้ เช่น ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย และเขตที่ราบสูงตะวันตกเฉียงใต้ เช่น ที่ราบสูงอิหร่านในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกี
เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เป็นที่ราบดินตะกอนที่เกิดจากแม่น้ำอ๊อบ เยนิเซ และลีนา ไหลผ่าน เรียกว่า ที่ราบไซบีเรีย มีอาณาเขตกว้างขวาง แต่มีคนอาศัยอยู่น้อยเพราะอยู่ในเขตภูมิอากาศหนาวมาก ทำการเพาะปลูกไม่ได้ ในฤดูหนาวน้ำในแม่น้ำจะเป็นน้ำแข็ง
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบต่ำเกิดจากตะกอน มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก นับเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของทวีปเอเชีย เช่น ในเอเชียตะวันออก มีแม่น้ำฮวงโห แม่น้ำแยงซีเกียง (จีน) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแม่น้ำแดง (เวียดนาม) แม่น้ำเจ้าพระยา (ไทย) แม่น้ำอิระวดี (พม่า) แม่น้ำโขง (คาบสมุทรอินโดจีน) ในเอเชียใต้ มีแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร (อินเดีย) ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีแม่น้ำไทกรีส - ยูเฟรตีส (อิรัก)
เขตหมู่เกาะรูปโค้ง หรือเขตหมู่เกาะภูเขาไฟ เป็นแนวต่อมาจากปลายตะวันออกสุดของเทือกเขาหิมาลัยที่โค้งลงมาทางใต้ เป็นแนวเทือกเขาอาระกันโยมาในพม่าแล้วหายลงไปในทะเล บางส่วนโผล่ขึ้นมาเป็นหมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ จนถึงหมู่เกาะญี่ปุ่น เป็นแนวภูเขารุ่นใหม่ จึงเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ

ลักษณะของเปลือกโลกมีลักษณะรูปแบบต่างๆ กัน  บางบริเวณมีลักษณะไม่ราบเรียบ สูงๆ ต่ำๆ  บางบริเวณเป็นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึง  บางบริเวณเป็นที่สูง  เป็นกรวดเป็นทรายกว้างขวาง บางบริเวณเป็นภูเขาสูงสลับกับหุบเขาลึก ซึ่งเราสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศตามสภาพสูงต่ำของเปลือกโลกได้  3  รูปแบบ  ได้แก่ 
            1. ที่ราบ (plain) หมายถึง พื้นผิวโลกที่เป็นที่ราบเรียบหรือขรุขระก็ได้ โดยมีความต่างระดับในท้องถิ่น ( local relief)ไม่เกิน 150 เมตร และโดยปกติจะอยู่สูงกว่าระดับทะเลไม่เกิน  100  เมตร ความแตกต่างระหว่างพื้นที่ระหว่างที่ต่ำกับที่สูงจะมีไม่มากนัก โครงสร้างของหินที่รองรับจะวางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบ  ลักษณะที่ราบจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1.1  ที่ราบแม่น้ำ (river plains)  หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ (allurival plains)  เป็นที่ราบที่มีลักษณะสำคัญคือมีแม่น้ำไหลผ่านบนพื้นที่ของที่ราบ และปรากฏลักษณะชัดเจนในบริเวณปากแม่น้ำ นอกจากนี้บริเวณที่ราบแม่น้ำจะมีลักษณะภูมิประเทศอื่นปะปนอยู่ด้วย  เช่น
                     - ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมบริเวณปากแม่น้ำ (deltaic plains)  เกิดจากแม่น้ำนำตะกอนดินมาทับถมให้ตื้นเขินขึ้นที่บริเวณปากแม่น้ำ  ลักษณะของพื้นที่ที่ตื้นเขินจะคล้ายสามเหลี่ยม  เช่น  บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา (เริ่มตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมาถึงอ่าวไทย  มีบางส่วนของจังหวัดชลบุรีและราชบุรีที่อยู่ตอนล่าง) 
                     - ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plains)  เป็นที่ราบที่อยู่ริมแม่น้ำ  จะมีน้ำท่วมเอ่ออยู่เป็นเวลานาน
                     - ลานตะพักลำน้ำ (river tereace)  เป็นที่ราบริมแม่น้ำที่แม่น้ำกัดเซาะพื้นผิวโลก  และนำตะกอนมาทับถมไว้  เมื่อแม่น้ำกัดเซาะจนพื้นผิวโลกมีระดับลึกลงไป  จะกลายเป็นที่ราบลานตะพักลำน้ำไว้  ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณตอนกลางของลำแม่น้ำ  ซึ่งพื้นที่นั้นจะถูกยกตัวให้สูงขึ้น  ทำให้น้ำท่วมไม่ถึง
1.2  ที่ราบชายฝั่ง  (coastal plains)  เป็นที่ราบที่เกิดบริเวณชายฝั่งทะเลโดยคลื่นและกระแสลมจะพัดพาเอาโคลน  ทราย  และตะกอนต่างๆ มาทับถมไว้ที่ชายฝั่ง  ลักษณะที่ราบชายฝั่งทะเลมีหลายลักษณะ  เช่น 
                     - ที่ราบชายฝั่งทะเลทั่วไปเมื่อคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง  หรือขัดสีโขดหินให้ราบเรียบลง  บางส่วน มีตะกอนที่คลื่นพัดพามาทับถมชายฝั่งให้ตื้นเขิน 
                     - ที่ราบบางแห่งเป็นพื้นที่กว้างขวางมีภูเขาโดดๆ กระจายอยู่ทั่วไป  ภูเขาเหล่านี้เดิมเป็นเกาะ  อยู่ในทะเลตื้นๆ ต่อมาน้ำทะเลลดลงหรือตื้นเขิน  เกาะจึงกลายเป็นภูเขาอยู่บนพื้นที่ราบ
                     - ที่ราบบางแห่งเป็นที่ราบแคบๆ ชายฝั่ง  ในบริเวณที่เป็นเกาะ  ที่ราบชายทะเลแม้จะเป็นที่ราบแคบๆ แต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพราะเกาะมักไม่ค่อยมีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูก
1.3  ที่ราบดินตะกอนเชิงเขา  (piedmont alluvial plains)  เป็น ที่ราบที่เกิดจากน้ำและลมพัดพาดินตะกอนจากภูเขามาทับถมไว้บริเวณเชิง เขา  ซึ่งจะกระจายแผ่ออกเป็นลักษณะดินตะกอนรูปพัด  ถ้าเป็นแนว ภูเขาต่อเนื่องกันยาว  อาจเกิดเป็นดินตะกอนรูปพัดหลายๆ อันต่อเนื่องกันเป็นผืนกว้างขวาง บริเวณที่ราบดินตะกอนเชิงเขาจะประกอบด้วยดินหยาบๆ และกรวดซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ  กรวดเหล่านี้จะอยู่ชั้นล่าง  ส่วนที่เป็นดินทับอยู่ข้างบน  ลักษณะเช่นนี้จะระบายน้ำได้ดี.

4  ที่ราบธารน้ำแข็ง  ใน พื้นที่ที่เป็นเขตหนาวและเขตอบอุ่น จะปรากฏที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งกัดกร่อนเปลือกโลกให้ราบลง  ที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งจะมีร่องรอยของการขูดครูด  ทำให้เกิดทะเลสาบหรือแอ่งน้ำกระจายอยู่ทั่วไป  แหล่งน้ำเหล่านี้มีขนาดต่างๆ กัน  เล็กบ้าง  ใหญ่บ้าง  ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากธารน้ำแข็งขุดลึกลงไปในเปลือกโลก  เช่น  รัฐมินนิโซตาในสหรัฐอเมริกา  มีทะเลสาบเล็กๆ เป็นจำนวนมาก
             ในพื้นที่บางแห่งธารน้ำแข็งเมื่อกัดกร่อนเปลือกโลกแล้วจะพัดพากรวด  ทราย  มาเป็นตะกอนทับถมเป็นที่ราบ  บางแห่งเป็นตะกอนดินล้วนๆ  ที่ราบธารน้ำแข็งในลักษณะนี้เรียกว่า  ที่ราบทิล  (till)  หรือ  boulder clay  ในพื้นที่บางแห่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการเกษตร  เช่น  บริเวณ  Mid-West  ในสหรัฐอเมริกา  บริเวณ  East Anglia  ในอังกฤษ 
            ที่ราบเศษหินธารน้ำแข็ง  (outwash plains, sandur  หรือ  sandr)  ซึ่งมักเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้ง  เช่น  บางส่วนของเนเธอร์แลนด์  และเยอรมนีตอนเหนือ
1.5  ที่ราบภายในทวีป  เป็นที่ราบที่เกิดขึ้นจากการยกตัวของผืนทวีปหรือเปลือกโลก  ทำให้ท้องทะเลบางแห่งภายในผืนทวีปตื้นเขินขึ้นกลายเป็นที่ราบซึ่งจะมีพื้นที่กว้างขวางมาก  ได้แก่  เกรตเพลนส์  (great plains)  ในทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่บริเวณกว้างจากตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเข้าไปถึงประเทศแคนาดา  ซึ่งสันนิษฐานว่าเดิมเป็นทะเลตื้นๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ  ที่ราบกว้างใหญ่ในรัสเซียที่เรียกว่า  Russian  Platform  หรือบริเวณที่เรียกว่า  ยูเรเซีย  (Eurasia)  หมายถึง  ที่ราบที่อยู่ในประเทศรัสเซียซึ่งเป็นผืนดินต่อเนื่องระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย
            ที่ราบส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่เหมาะ สมสำหรับทำการเกษตรและการตั้งถิ่นฐานของประชากร  บริเวณที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมเป็นเขตกสิกรรมที่อุดมสมบูรณ์มาก  เช่น  บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์เป็นแหล่งปลูกข้าวและฝ้าย บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาเป็น แหล่งปลูกข้าว ป่าน และปอ  ลุ่มแม่น้ำหวางในจีนเป็นแหล่งปลูกผัก
 2. ที่ราบสูง  (plateau)  หมายถึง  บริเวณพื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบ  ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่  เป็นพื้นที่ที่มีความต่างระดับมากกว่า  150  เมตร  (ความสูงในท้องถิ่นมากกว่า  150  เมตร)  และสูงกว่าระดับทะเลตั้งแต่  100  เมตร  จนถึง  1,500  เมตร  ส่วนโครงสร้างของหินที่รองรับวางตัวอยู่ในแนวระนาบหรือเกือบราบ    โดยมีขอบชันหรือผาชัน  (escarpment)  อยู่อย่างน้อยหนึ่งด้าน  หรือมีทิวเขากั้นเป็นขอบอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง 
            ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะที่ตั้งมี  3  รูปแบบ  คือ  ที่ราบสูงระหว่าง ภูเขา  ที่ราบสูงเชิงเขา  และที่ราบสูงทวีป
            ลักษณะที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน  แบ่งออกเป็น  3  รูปแบบ  คือ  ที่ราบสูงหินแนวราบ ที่ราบสูงหินผิดรูป  ที่ราบสูงหินลาวา
          3. ภูเขาและเนินเขา (mountains and hills)  หมายถึง  บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากบริเวณรอบๆ ทั้งภูเขาและเนินเขา มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วๆ ไปเหมือนกัน  แตกต่างอยู่ที่ความต่างระดับและความลาดชัน  (slope)  ภูเขาจะมีความต่างระดับซึ่งเป็นที่สูงเกิน  500  เมตร  ส่วนเนินเขาเป็นพื้นที่ที่มีความสูงน้อยกว่า  (ประมาณ  150-500 เมตร)  ความไม่ราบเรียบของภูเขาและเนินเขาขึ้นอยู่กับการวางตัวของหิน  ทำให้แบ่งลักษณะภูเขาและเนินเขาออกเป็น  4   รูปแบบ  คือ 
3.1  ภูเขาโก่ง  (folded Mountains)  หรือ  fold   ภูเขาประเภทนี้มีมากที่สุดและเป็นภูเขาที่สำคัญ  เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกเนื่องจากได้รับแรงกดและแรงบีบ  ส่วนที่โก่งขึ้นเรียกว่า  โค้งรูปประทุนหรือกระทะคว่ำ  (anticline)  ส่วนที่โก่งลงเรียกว่า  โค้งรูปประทุนหงายหรือกระทะหงาย  (syncline)  ตัวอย่างภูเขาที่ขึ้นชื่อของโลกคือ  เทือกเขาร็อกกี (Rocky) เทือกเขาแอนดีส (Andes)  เทือกเขาแอลป์ (Alps) เทือกเขาจูรา  (Jura)  ในทวีปยุโรป
 ภูเขาที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกนี้บางทีถูกยกระดับจากพื้นดินมาก  จึงเรียกภูเขาชนิดนี้ว่า  ภูเขาที่เกิดจากการยกระดับ  (mountain of  elevation)  บริเวณดังกล่าวมักพบภูเขาไฟด้วยและแร่ธาตุที่มีค่า  เช่น  ดีบุก  ทองคำ  และน้ำมันปิโตรเลียม
 3.2  ภูเขาบล็อก  (fault-block mountains)  เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลกในลักษณะของรอยเลื่อนหรือรอยเหลื่อม  (faulting)  คือ เกิดแนวแตกของเปลือกโลกซีกหนึ่งจมยุบลงและดันให้อีกซีกหนึ่งยกตัวขึ้นสูงเป็นภูเขา
                        ในบางกรณีเกิดภูเขาที่เรียกว่า  ฮอร์สต์  (Horst)  ซึ่งจะเกิดควบคู่กับแอ่งกราเบน  (Graben)  หรือเรียกว่า  หุบเขาทรุด  หรือ  rift  valley  ซึ่งเกิดจากเปลือกโลกแตกแยกเป็นแท่งแล้วจมลง  แล้วดันให้บริเวณตรงข้ามที่เป็นแท่งยกตัวขึ้น
 ภูเขาบล็อก  เช่น  เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา  (Sierra  Nevada)  ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  (เป็นภูเขาหัก)  เทือกเขา  Hunsruck  และแบล็กฟอเรสต์  (Black Forest)  ในบริเวณไรน์แลนด์  (Rhineland)  ในเยอรมนี 
 3.3  ภูเขาโดม  (dome mountains)  เกิดจากการดันตัวของหินละลาย  (lava)  หรือหินหนืด  (magma)  ภายในโลก พยายามแทรกเปลือกโลกแต่ไม่สามารถดันออกมาภายนอก  จึงแข็งตัวภายใต้เปลือกโลก  เมื่อหินที่ปกคลุมอยู่เดิมสึกกร่อนไปหมด  จะเหลือแต่แกนหินซึ่งเป็นหินอัคนีซึ่งเกิดจากการดันตัวของหินละลาย  ลักษณะแบบนี้อาจเป็นบริเวณกว้างเป็นแนวเทือกเขาก็ได้  เช่น  ภูเขาแบล็คฮิลส์  (Back Hills)  ในรัฐดาโคตา  สหรัฐอเมริกา 

3.4  ภูเขาไฟ  (Volcanic Mountains)  เกิดจากการดันตัวของหินละลาย  (lava) และหินหนืด  (magma)  ที่ขับออกมาตามรอยแตกแยกของเปลือกโลกคือ  ออกมาภายนอกโลกได้  ทำให้เกิดมูลภูเขาไฟ  (cinders)  เถ้าถ่าน  ฝุ่นละออง  และโคลนเหลวไหลปลิวตกรอบๆ ปล่องภูเขา  ภูเขาไฟจึงมีรูปร่างคล้ายกับกรวยหรือรูปฝาชีเพราะการไหลของลาวากระจายออกมาเสริมรูปร่างของภูเขา  บริเวณภูเขาไฟและที่ใกล้เคียงจะพบหินซึ่งมีรูพรุนที่เกิดจากฟองอากาศ  ถ้าเป็นภูเขาไฟซึ่งมีการระเบิดรุนแรง  จะพบวัตถุภูเขาไฟ  เช่น  เถ้า ถ่านภูเขาไฟ  บอมบ์ภูเขาไฟ  (voloanic bomb)  ภูเขาไฟนี้บางครั้ง จะเรียกว่า  ภูเขาแห่งการทับถม  (mountains of aecmulation)  เช่น  ภูเขาฟูจิ (Fuji) ในประเทศญี่ปุ่น  ภูเขามาโยน (Mayon) ในประเทศฟิลิปปินส์   ภูเขาเมราปิในเกาะสุมาตรา  ภูเขาไฟอากุง (Agung) ในเกาะบาหลี  และภูเขาไฟโกโตปักซี (Cotopaxi) ในประเทศเอกวาดอร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น